logo

ข่าวเศรษฐกิจรอบโลกประจำวันที่ 25 เมษายน 2567

  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.13 จุด หรือ 0.12% มาอยู่ที่ระดับ 105.82 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.04 % มาอยู่ที่ระดับ 4.644% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง 0.0 % มาอยู่ที่ระดับ 4.929% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.29% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
  • นายมิตสึฮิโระ ฟูรุซาวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่นฝ่ายกิจการระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นใกล้ที่จะเข้าแทรกแซงตลาด FX หากเงินเยนอ่อนค่าลงอีก
  • สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานโดยอ้างแหล่งข่าววงใน 3 รายว่า รัฐบาลเกาหลีใต้กำลังพิจารณาผ่อนปรนข้อกำหนดการรายงานการซื้อขายพันธบัตรแบบเรียลไทม์สำหรับนักลงทุนในตลาดพันธบัตรมูลค่า 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐของเกาหลีใต้ เนื่องจากเกาหลีใต้ต้องการให้พันธบัตรของตนมีรายชื่อในดัชนีพันธบัตรโลกของ FTSE Russell
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ เนื่องจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐส่งผลกระทบต่อการซื้อขายในตลาด และได้บดบังปัจจัยบวกจากรายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน
  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 38,460.92 จุด ลดลง 42.77 จุด หรือ -0.11%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,071.63 จุด เพิ่มขึ้น 1.08 จุด หรือ +0.02% 
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,712.75 จุด เพิ่มขึ้น 16.11 จุด หรือ +0.10%
  • ซีอีโอของธนาคารเจพีมอร์แกน เชส (JPMorgan Chase) แสดงความมั่นใจว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีความแข็งแกร่ง โดยได้แรงหนุนจากตัวเลขการจ้างงานที่เข้มแข็งและสุขภาพทางการเงินของผู้บริโภคที่ดี อย่างไรก็ตาม นายไดมอนเตือนถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นจากหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนอัตราเงินเฟ้อ และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์
  • ผู้เขียนคอลัมน์ของรอยเตอร์ระบุว่า เศรษฐกิจโลกกำลังพึ่งพาเศรษฐกิจสหรัฐเป็นหลักในช่วงนี้ ในขณะที่เศรษฐกิจยุโรปและเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจสหรัฐอาจจะช่วยพยุงเศรษฐกิจโลกได้ต่อไปเป็นเวลาไม่นานนัก เพราะว่าเศรษฐกิจสหรัฐได้รับแรงกระตุ้นในช่วงที่ผ่านมาจากการกู้ยืมเงินจำนวนมาก
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ในวันพุธ หลังจากสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางบรรเทาลง ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -6.15 เหรียญ หรือ -0.26% อยู่ที่ระดับ 2,315.95 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 3.70 เหรียญ หรือ 0.16% ปิดที่ 2,338.40 เหรียญ
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 1.6 เซนต์ หรือ 0.06% ปิดที่ 27.622 เหรียญ
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 7.00 เหรียญ หรือ 0.76% ปิดที่ 915.80 เหรียญ
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 833.63 ตันภาพรวมเดือนเมษายน ซื้อสุทธิ 3.48 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 45.48 ตัน
  • จิม วิคคอฟฟ์ นักวิเคราะห์จากบริษัท Kitco Metals กล่าวว่า “ราคาทองคำและโลหะเงินกำลังเข้าสู่ภาวะปรับฐาน เนื่องจากความขัดแย้งในตะวันออกกลางเริ่มคลี่คลายลง โดยขณะนี้นักลงทุนหันไปจับตาข้อมูลเศรษฐกิจและท่าทีของเฟด หากข้อมูลบ่งชี้ว่าตัวเลขเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ก็เป็นเรื่องยากที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย และราคาทองคำก็อาจจะดิ่งหลุดจากระดับ 2,200 ดอลลาร์”
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ เนื่องจากนักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งในตะวันออกกลาง นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังปรับตัวลงหลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลที่บ่งชี้ถึงการชะลอตัวของกิจกรรมทางธุรกิจ
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 55 เซนต์ หรือ 0.66% ปิดที่ 82.81 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 40 เซนต์ หรือ 0.45% ปิดที่ 88.02 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สถานการณ์ในตะวันออกกลางที่คลายความร้อนแรงลงได้ส่งผลให้ราคาน้ำมัน WTI ปิดในแดนลบติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ขณะที่นักวิเคราะห์ของโกลด์แมน แซคส์คาดการณ์ว่า ความตึงเครียดที่ลดน้อยลงระหว่างอิหร่านและอิสราเอลนั้น อาจจะส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวลงราว 5-10 ดอลลาร์/บาร์เรลในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 06/02/2023

ราคาทองคำปรับตัวลดลงหลุด 1900 ดอลลาร์ เนื่องจากดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้นหลังจากตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรออกมาแข็งแกร่งกว่าที่คาดไว้

อ่านเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 15/02/2023

วันนี้ราคาทองคำลงมาทำ New Low อย่างต่อเนื่องที่ระดับ 1,843 ดอลลาร์ และมีแนวโน้มที่ราคาทองคำจะลงต่อ ซึ่งได้รับแรงกดดันจากสถานการณ์ปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม