logo

ข่าวเศรษฐกิจรอบโลกประจำวันที่ 20 พฤษภาคม 2567

  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -0.01 จุด หรือ -0.01% มาอยู่ที่ระดับ 104.49 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.04 % มาอยู่ที่ระดับ 4.416% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวขึ้น 0.03 % มาอยู่ที่ระดับ 4.822% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.41% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
  • พาวเวลล์กล่าวช่วงเช้าที่ผ่านมา โดยเขาไม่ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับนโยบายการเงินหรือเศรษฐกิจ
  • โดยล่าสุดคือในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว เขาได้ตอกย้ำว่า อัตราเงินเฟ้อนั้น ยังคงสูงกว่าคาดและยังคงต้องใช้นโยบายที่เข้มงวดต่อไป และไม่มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก
  • กรรมการคณะกรรมการบริหารของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวว่า อีซีบีอาจจะลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย. แต่ก็แนะให้ใช้ความระมัดระวังกับการลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก เมื่อดูจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับแนวโน้ม
  • ลอเรตตา เมสเตอร์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาคลีฟแลนด์กล่าวว่า การคงนโยบายของเฟดไว้ที่ระดับปัจจุบันจะช่วยทำให้อัตราเงินเฟ้อที่ยังสูงอยู่กลับลงมาสู่เป้าหมาย 2%
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ เหนือระดับ 40,000 จุดเป็นครั้งแรก ขณะที่ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปรับตัวขึ้นในรอบสัปดาห์นี้ด้วย เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีนี้
  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 40,003.59 จุด เพิ่มขึ้น 134.21 จุด หรือ +0.34%
  •  ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,303.27 จุด เพิ่มขึ้น 6.17 จุด หรือ +0.12% 
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 16,685.97 จุด ลดลง 12.35 จุด หรือ -0.07%
  • ดัชนี S&P500 ปรับตัวขึ้นหลังลดช่วงติดลบลงได้ ขณะที่ดัชนี Nasdaq ลดลง แต่ดัชนีทั้งสองตัวปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 4 ขณะที่ดัชนีดาวโจนส์ปิดบวกเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกัน
  • ในรอบสัปดาห์นี้ ดัชนีดาวโจนส์บวก 1.24%, ดัชนี S&P500 เพิ่มขึ้น 1.54% และดัชนี Nasdaq ปรับตัวขึ้น 2.11% 
  • จากที่สหรัฐฯ ประกาศปรับเพิ่มอัตราภาษีต่อสินค้านำเข้าจากจีนอีก 25%-100% ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในอีก 3 เดือนข้างหน้าเป็นต้นไป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การขึ้นภาษีรอบนี้พุ่งเป้าที่อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่ของจีนเป็นหลัก ทำให้น่าจะจุดเริ่มต้นของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนรอบใหม่
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ และปรับตัวขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน โดยได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน และจากความหวังครั้งใหม่ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง
  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 38.0 เหรียญ หรือ 1.6% อยู่ที่ระดับ 2,414.0 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 31.90 ดอลลาร์ หรือ 1.34% ปิดที่ 2,417.40 เหรียญ
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 1.383 ดอลลาร์ หรือ 4.63% ปิดที่ 31.259 เหรียญ
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 18.70 ดอลลาร์ หรือ 1.75% ปิดที่ 1,090 เหรียญ
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าซื้อเข้า 5.18 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 838.54 ตันภาพรวมเดือนพฤษภาคม ซื้อสุทธิ 6.35 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 40.57 ตัน
  • ตลาดทองคำได้แรงหนุน หลังจีนซึ่งเป็นประเทศผู้ใช้โลหะอุตสาหกรรมรายใหญ่รวมถึงทองคำนั้น ได้ประกาศมาตรการครั้งประวัติศาสตร์เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤต
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ โดยได้แรงหนุนจากการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจของจีนและสหรัฐที่เพิ่มความหวังเกี่ยวกับความต้องการใช้น้ำมันมากขึ้น โดยจีนและสหรัฐเป็นสองประเทศผู้ใช้น้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 83 เซนต์ หรือ 1.05% ปิดที่ 80.06 ดอลลาร์/บาร์เรล และปรับตัวขึ้น 2% ในรอบสัปดาห์นี้
  • ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 71 เซนต์ หรือ 0.85% ปิดที่ 83.98 ดอลลาร์/บาร์เรล และปรับตัวขึ้นราว 1% ในรอบสัปดาห์นี้
  • นักกวิเคราะห์ของแซกโซ แบงก์ระบุว่า “ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์อยู่ต่ำกว่า 90 ดอลลาร์ซึ่งเป็นระดับเป้าหมายของซาอุดีอาระเบียและประเทศอื่น ๆ นั้น ก็มีแนวโน้มว่า ที่ประชุมโอเปกพลัสจะลงมติปรับลดการผลิตที่ระดับปัจจุบันต่อไป”
Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

ราคาทองปิดลบ 15.10 ดอลลาร์ เนื่องจากดัชนีดอลลาร์แข็งค่ากดดันตลาด

ตลาดได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการกล่าวสุนทรพจน์ของเฟดและความคิดเห็นจากบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ส่วนสถานการณ์ตะวันออกกลางตลาดให้ความสำคัญน้อยลง

อ่านเพิ่มเติม

ทองปิดลบ 4.40 ดอลลาร์ เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่าบวกแรงกดดันก่อนการประชุมเฟด

นักลงทุนยังจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ประจำเดือน มิ.ย.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ ซึ่งดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สำคัญ

อ่านเพิ่มเติม