logo

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 17/08/2023

  • ราคาทองปิดลบ 8 วันติดต่อกัน นับว่าปิดลบยาวนานที่สุดในรอบ 6 ปี เนื่องจากดัชนีดอลลาร์แข็งค่าบวกบอนด์ยีลด์สหรัฐพุ่งขึ้น หลังรายงานผลการประชุมเฟดสะท้อนว่าเฟดมีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อได้และเจ้าหน้าที่เฟดส่วนใหญ่ต่างยังคงกังวลต่อแนวโน้มเงินเฟ้อ เนื่องจากยังไม่ถึงระดับเป้าหมายที่2 %
  • ตัวเลขเศรษฐกิจยุโรปที่นักลงทุนควรเฝ้าระวังในวันนี้ได้แก่ ดุลการค้า เดือน มิ.ย. เวลา 16.00 น. ซึ่งหากตัวเลขดังกล่าวออกมามากกว่าคาดจะส่งผลบวก(+) ต่อราคาทองคำ
  • ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่นักลงทุนควรเฝ้าระวังในวันนี้ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ เวลา 19.30 น. ซึ่งหากตัวเลขดังกล่าวออกมามากกว่าคาดจะส่งผลลบ(-) ต่อราคาทองคำ
  • ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่นักลงทุนควรเฝ้าระวังในวันนี้ได้แก่ ยอดค้าปลีก m/m เดือน ก.ค. เวลา 19.30 น. ซึ่งหากตัวเลขดังกล่าวออกมามากกว่าคาดจะส่งผลลบ(-) ต่อราคาทองคำ
  • ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่นักลงทุนควรเฝ้าระวังในวันนี้ได้แก่ ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ เดือน ก.ค. เวลา 21.00 น. ซึ่งหากตัวเลขดังกล่าวออกมามากกว่าคาดจะส่งผลลบ(-) ต่อราคาทองคำ
  • ดัชนีดอลลาร์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.29% อยู่ที่ระดับ 103.15 และพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.02% มาอยู่ที่ระดับ 4.195% เมื่อคืนนี้
ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาทองคำ
  • ดอลลาร์แข็งค่ากดดันทอง
  • บอนด์ยีลด์พุ่งกดดันทอง
  • ความเห็นเจ้าหน้าที่เฟด
  • ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจ
มุมมองทองคำทาง Technical

ราคาทองคำถูกแรงกดดันให้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จนร่วงหลุดระดับ 1900 หลังจากนั้นได้ทดสอบจุดต่ำสุดบริเวณ 1892 โดยในช่วงเช้านี้ราคาเคลื่อนตัวอยู่ในกรอบแคบระหว่าง 1890 – 1895 แนวโน้มราคาทองคำเป็น Down trend ทั้งนี้ ตลาดจับตาการเปิดเผยข้อมูลผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ แนวรับ/แนวต้านที่สำคัญถัดไป อยู่ที่ระดับ 1880 และ 1910 อย่างไรก็ตามนักลงทุนควรซื้อขายอย่างระมัดระวังและป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนระหว่างวัน

Technical View

แนวรับที่ 1 1880 แนวต้านที่ 1 1910
แนวรับที่ 2 1870 แนวต้านที่ 2 1920

หมายเหตุ : ข้อมูลข้างต้นอาจมีความคลาดเคลื่อน ผู้ลงทุนไม่ควรใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจออกคำสั่งซื้อขาย และควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 23/02/2023

ตลาดแรงงานยังคงอยู่ในภาวะตึงตัวมาก ด้วยเหตุนี้เฟดควรจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปจนกว่าจะมั่นใจว่าเงินเฟ้ออยู่ในทิศทางขาลงจนแตะระดับเป้าหมาย 2% อย่างยั่งยืน

อ่านเพิ่มเติม