logo

ข่าวเศรษฐกิจรอบโลกประจำวันที่ 6 มิถุนายน 2567

  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.08 จุด หรือ 0.08% มาอยู่ที่ระดับ 104.25 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี  ปรับตัวลดลง -0.06 % มาอยู่ที่ระดับ 4.277% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง -0.05 % มาอยู่ที่ระดับ 4.722% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.45% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
  • เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อ หรือราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น  หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Stifel กล่าวว่า สาเหตุสำคัญมาจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เน้นนโยบาย “soft landing” มากเกินไป จนละเลยที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อ
  • นักเศรษฐกิจส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมการสำรวจของรอยเตอร์ คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลัก 2 ครั้งในปีนี้ โดยครั้งแรกจะเกิดขึ้นในเดือนกันยายน อย่างไรก็ตามยังมีผลสำรวจบางส่วนชี้ให้เห็นว่ายังมีความเสี่ยงที่เฟดอาจจะปรับลดเพียงครั้งเดียวหรือไม่มีปรับลดเลยในปีนี้เช่นเดียวกัน
  • ธนาคารกลางยุโรป (ECB) กำลังเผชิญกับความกดดันด้านเงินเฟ้อที่คล้ายคลึงกับ FED มากขึ้นเรื่อยๆ เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในยูโรโซน ทำให้เกิดความกังวลว่า ECB อาจเผชิญกับอุปสรรคในการลดดอกเบี้ย เช่นเดียวกับ FED ซึ่งโดยจะมีการประชุมปรับลดอัตราดอกเบี้ยในวันนี้
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกในวันพุธ ส่วนดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปิดพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยตลาดได้ปัจจัยหนุนจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี รวมทั้งความหวังที่ว่าข้อมูลแรงงานที่อ่อนแอจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย
  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 38,807.33 จุด เพิ่มขึ้น 96.04 จุด หรือ +0.25%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,354.03 จุด เพิ่มขึ้น 62.69 จุด หรือ +1.18% 
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 17,187.90 จุด เพิ่มขึ้น 330.86 จุด หรือ +1.96%
  • การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้นเพียง 152,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 175,000 ตำแหน่ง หลังจากเพิ่มขึ้น 188,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย.
  • สหรัฐเปิดเผยข้อมูลแรงงานที่อ่อนแอลงติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ซึ่งทำให้นักลงทุนมีความหวังว่าเฟดจะเริ่มพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 69% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย. ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับ 50% ในการสำรวจเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันพุธ ขานรับการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลแรงงานที่อ่อนแอ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 28.10 ดอลลาร์ หรือ 1.20% ปิดที่ 2,375.50 ดอลลาร์/ออนซ์
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 45.6 เซนต์ หรือ 1.54% ปิดที่ 30.073 ดอลลาร์/ออนซ์
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 4.40 ดอลลาร์ หรือ 0.44% ปิดที่ 1,000.30 ดอลลาร์/ออนซ์
  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 29.29 เหรียญ หรือ 1.26% อยู่ที่ระดับ 2,356.1 เหรียญ
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าซื้อเข้า 1.44 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 833.65 ตันภาพรวมเดือนมิถุนายน ซื้อสุทธิ 1.44 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 45.46 ตัน
  • สภาทองคำโลก (WGC) เปิดเผยว่า ยอดซื้อทองคำสุทธิโดยธนาคารกลางทั่วโลกเพิ่มขึ้นแตะระดับ 33 เมตริกตันในเดือนเม.ย. ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากจากเดือนมี.ค.ที่ยอดซื้อทองคำสุทธิอยู่ที่ระดับเพียง 3 ตัน โดยข้อมูลดังกล่าวเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าทองคำยังคงเป็นที่ต้องการอย่างมากจากธนาคารกลางทั่วโลก แม้ราคาจะอยู่ในระดับสูงก็ตาม
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพุธ เนื่องจากความหวังที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย.เป็นปัจจัยหนุนราคาน้ำมัน และช่วยบดบังปัจจัยลบจากรายงานสต็อกน้ำมันดิบและน้ำมันเบนซินรายสัปดาห์ของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นมากกว่าคาด
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 82 เซนต์ หรือ 1.12% ปิดที่ 74.07 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 89 เซนต์ หรือ 1.15% ปิดที่ 78.41 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • ราคาน้ำมันได้ปัจจัยหนุนจากความหวังที่ว่าเฟดจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย. ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมปรับตัวลดลง และจะช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุปสงค์น้ำมัน
  • นอกจากนี้ ความคาดหวังที่ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยยังช่วยบดบังปัจจัยลบจากรายงานของสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ซึ่งระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 2.3 ล้านบาร์เรล
  • รอยเตอร์ได้สำรวจความเห็นนักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์  โพลล์คาดราคาน้ำมันดิบสหรัฐมีมีแนวโน้มว่าจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 79.56 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในปี 2024 โดยปรับลดลงจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ 80.46 ดอลลาร์
Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม