logo

ข่าวเศรษฐกิจรอบโลกประจำวันที่ 29 เมษายน 2567

  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.51 จุด หรือ 0.48% มาอยู่ที่ระดับ 106.09 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี  ปรับตัวลดลง -0.04 % มาอยู่ที่ระดับ 4.667% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง 0.0 % มาอยู่ที่ระดับ 5.0% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.33% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า แบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุดแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 2.7% ในไตรมาส 1/2567
  • ข้อมูลเงินเฟ้อล่าสุดของสหรัฐที่มีการเปิดเผยในวันศุกร์ ได้ตอกย้ำถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐจะยังอยู่ที่ระดับสูงต่อไปอีกระยะหนึ่ง
  • สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อที่น่าเป็นห่วงถึง 3 เดือนติดต่อกันบ่งชี้ว่า ความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ของเฟดได้หยุดชะงัก และบ่งชี้ว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกจะถูกเลื่อนออกไปอีก
  • บรรดานักลงทุนคาดว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 1-2 ครั้งในปีนี้ โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนพ.ย. แต่ก็มีความกังวลเพิ่มมากขึ้นว่า เฟดอาจจะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเลยในปีนี้
  • เบน เอเยอร์ส นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของเนชันไวด์กล่าวว่า “ข้อมูลเงินเฟ้อที่ร้อนแรงจนถึงเดือนมี.ค.จะลดโอกาสของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งแรกของปี 2567”
  • ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เปิดเผยผลสำรวจคาดการณ์ของผู้บริโภคพบว่า ผู้บริโภคในยูโรโซนได้ปรับลดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อสำหรับช่วง 12 เดือนข้างหน้า แต่ก็ยังคงคาดว่า อัตราเงินเฟ้อจะสูงเกินเป้าหมาย 2% ของอีซีบี
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) กล่าวในการแถลงข่าวหลังจากบีโอเจมีมติคงอัตราดอกเบี้ยในวันศุกร์ที่ผ่านมา พร้อมแสดงความเชื่อมั่นมากขึ้นว่า อัตราเงินเฟ้อจะแตะ 2% อย่างยั่งยืนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นการแสดงความพร้อมที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงต่อไปของปีนี้
  • ผู้บริหารธุรกิจของญี่ปุ่นวิตกกังวลต่อกรณีที่เงินเยนอ่อนค่าลงภายหลังจากที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ตัดสินใจคงนโยบายการเงิน ขณะที่เงินเยนร่วงสู่ระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ในช่วงสุดสัปดาห์
  • บริษัท แปซิฟิก อินเวสต์เมนท์ แมเนจเมนท์ (พิมโค) บริษัทจัดการด้านการลงทุนยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ เปิดเผยว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 3 ครั้ง หลังปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งประวัติการณ์เมื่อเดือนมี.ค.
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ โดยได้แรงหนุนจากการทะยานขึ้นของหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ หลังบริษัทอัลฟาเบท และบริษัทไมโครซอฟท์เปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาสที่แข็งแกร่ง
  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 38,239.66 จุด เพิ่มขึ้น 153.86 จุด หรือ +0.40%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,099.96 จุด เพิ่มขึ้น 51.54 จุด หรือ +1.02% 
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,927.90 จุด เพิ่มขึ้น 316.14 จุด หรือ +2.03%
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ ปรับตัวขึ้น 0.3% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และปรับตัวขึ้น 2.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ขณะที่ข้อมูลเงินเฟ้อที่มีการเปิดเผยเมื่อต้นปีนี้ก็ถูกปรับขึ้นเล็กน้อย
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติ (NBS) ของจีนเปิดเผยว่า กำไรของบริษัทอุตสาหกรรมรายใหญ่ของจีน เพิ่มขึ้น 4.3% เมื่อเทียบเป็นรายปีในไตรมาสแรกของปีนี้
  • คันทรี การ์เดน บริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของจีน วางแผนที่จะเสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ คันทรี การ์เดน ผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ต่างประเทศเป็นมูลค่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์เมื่อปลายปีที่แล้ว และขณะนี้กำลังเผชิญกับคำร้องขอให้มีการชำระบัญชี (liquidation) ในฮ่องกง เนื่องจากบริษัทผิดนัดชำระเงินกู้มูลค่า 205 ล้านดอลลาร์ โดยศาลนัดพิจารณาคดีครั้งแรกไว้ในวันที่ 17 พ.ค.นี้
  • รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ในกรุงโตเกียว ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้แนวโน้มเงินเฟ้อของประเทศญี่ปุ่น ปรับตัวขึ้นเพียง 1.6% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งชะลอตัวลงจากเดือนมี.ค.ที่เพิ่มขึ้น 2.4% 
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ หลังจากการเปิดเผยข้อมูลที่บ่งชี้ว่า เงินเฟ้อของสหรัฐเพิ่มขึ้นตามคาด ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐลดลงหลังการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ซึ่งทำให้สัญญาทองคำมีความน่าดึงดูดใจมากขึ้น
  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 5.56 เหรียญ หรือ 0.24% อยู่ที่ระดับ 2,338.05 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 4.70 ดอลลาร์ หรือ 0.20% ปิดที่ 2,347.20 ดอลลาร์/ออนซ์
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 9.8 เซนต์ หรือ 0.35% ปิดที่ 27.535 ดอลลาร์/ออนซ์
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 1.60 ดอลลาร์ หรือ 0.17% ปิดที่ 921.10 ดอลลาร์/ออนซ์
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าขายออก 2.59 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 832.19 ตันภาพรวมเดือนเมษายน ซื้อสุทธิ 2.04 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 46.92 ตัน
  • สมาคมทองของจีนรายงาน ปริมาณการใช้ทองในจีนพุ่งขึ้น 5.94% ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบรายปี สู่ 308.905 ตัน โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ในขณะที่จีนถือเป็นประเทศผู้ใช้ทองรายใหญ่ที่สุดในโลก 
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ โดยได้แรงหนุนจากความตึงเครียดในตะวันออกกลาง แต่ดอลลาร์ที่แข็งค่าและข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐซึ่งทำลายความหวังที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้นั้น ได้สกัดกั้นการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมัน
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 28 เซนต์ หรือ 0.34% ปิดที่ 83.85 ดอลลาร์/บาร์เรล 
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 49 เซนต์ หรือ 0.55% ปิดที่ 89.50 ดอลลาร์/บาร์เรล
Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

ราคาทองทำเคลื่อนตัวในกรอบ 1800 – 1830 หลังเฟดเน้นย้ำปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า ขณะนี้นักลงทุนให้น้ำหนัก 78.6% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 21-22 มี.ค.

อ่านเพิ่มเติม

ตลาดจับตาผลการเจรจาเพิ่มเพดานหนี้สหรัฐบวกดัชนีดอลลาร์แข็งค่า ส่งผลกดดันทองปิดลบ 4.4 ดอลลาร์

หากสภาคองเกรสและทำเนียบขาวสามารถบรรลุข้อตกลงการปรับเพิ่มเพดานหนี้ได้ นักวิเคราะห์คาดว่าอาจส่งผลกดดันราคาทองให้ปรับตัวลดลงกลับไปทดสอบแนวรับระดับที่ 1950 ดอลลาร์

อ่านเพิ่มเติม