logo

ราคาทองคำเคลื่อนตัวในกรอบ 1830 – 1850 เนื่องจากเป็นวันหยุดของสหรัฐ

ข่าวราคาทองคำ

               ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อตลาดทองคำคือดัชนีดอลลาร์ โดยเมื่อคืนนี้ดัชนีดอลลาร์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.03 % สู่ระดับ 103.91 และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี  ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.03% มาอยู่ที่ระดับ 3.842%

               ราคาทองคำเคลื่อนตัวในกรอบแคบระหว่าง 1830 -1850 สถานการณ์ซื้อขายค่อนข้างเบาบาง โดยในช่วงเช้านี้ราคามีการปรับตัวลดลง เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ Bank of  America คาดว่า เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 3 ครั้งในปีนี้ หลังข้อมูลบ่งชี้ถึงภาวะเงินเฟ้อที่ยาวนานและตลาดแรงงานที่ฟื้นตัว โดยคาดว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมในเดือน มิ.ย. ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยท้ายสุดเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 5.25-5.5%

               ทั้งนี้ นักลงทุนจับตาการประกาศตัวเลขยอดขายบ้านมือสอง และดัชนี PMI  ในคืนนี้

มุมมองนักวิเคราะห์

✎หัวหน้าฝ่ายวิจัยสินค้าโภคภัณฑ์ของ Geojit Financial Services กล่าวว่า จากข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดของสหรัฐฯที่ออกมาอย่างแข็งแกร่ง และถ้อยแถลงของเฟดที่ส่งสัญญาณเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อ ได้เข้าจำกัดความคาดหวังครั้งใหญ่ของนักลงทุนต่อราคาทองคำ ซึ่งส่งผลให้ราคาทองคำขณะนี้อยู่ในลักษณะซื้อขายแคบๆ ในระยะสั้น 

ราคาทองคำวันนี้

ราคาทองคำตลาดโลก  
ปรับตัวลดลง -1.22 เหรียญ หรือ -0.07% อยู่ที่ระดับ 1,841.14  ดอลลาร์

กองทุนทองคำ SPDR  
ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 919.92 ตัน ภาพรวมเดือนกุมภาพันธ์ ขายสุทธิ 0.59 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ซื้อสุทธิ 2.28 ตัน

ปัจจัยที่ทำให้ราคาทองคำปรับตัวลดลง

-แรงกดดันจากเจ้าหน้าที่เฟดหนุนปรับดอกเบี้ย

-ดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ปรับตัวเพิ่มขึ้น


หมายเหตุ : ข้อมูลข้างต้นอาจมีความคลาดเคลื่อน เนื่องจากสินทรัพย์ดิจิทัลมีการซื้อขายตลอด 24 ชม. ไม่ควรใช้เพื่อการตัดสินใจลงทุนหรือซื้อขาย ข้อมูลดังกล่าวไม่มีเจตนาชี้นำการลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ

 

 

Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

ทองคำปิดบวก 7.90 ดอลลาร์ รับแรงหนุนดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าและบอนด์ยีลด์สหรัฐร่วง

นักลงทุนจับตาการเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือน ก.ค. ส่วนในวันศุกร์จะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ส.ค. และดัชนีภาคการผลิตเดือน ส.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM)

อ่านเพิ่มเติม