logo

ข่าว FOREX ที่นักลงทุนต้องรู้

ข่าว Forex กับนักลงทุนเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงกันไม่ได้ เพราะการติดตามข่าวสารเป็นหนึ่งในกระบวนสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการซื้อขาย ซึ่งการติดตามข่าวสารจะช่วยให้สามารถเข้าใจภาพรวมของตลาดได้ดีขึ้น โดยข่าวสารที่ส่งผลต่อค่าเงินนั้น มีทั้งข่าวเศรษฐกิจ การเมือง ระบบการเงิน และเสถียรภาพของค่าเงิน โดยมีข่าวเกิดขึ้นมากมาย และลำดับความสำคัญที่ส่งผลต่อค่าเงินจะแตกต่างกันออกไป สำหรับนักลงทุนที่ยังสับสน หรือไม่แน่ใจว่าจะต้องติดตามข่าวไหนเป็นพิเศษบ้าง วันนี้เราได้รวบรวมข่าวที่ควรติดตามมาให้แล้ว ้    

 

  • การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน การปรับลดอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ตลอดจนราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ รวมถึงเรื่องสถานการณ์ภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตัวเลขทางเศษฐกิจ อาจทำให้นักลงทุนเกิดการย้ายเงินลงทุนได้   
  • การประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลระบบการเงินและการธนาคารในกลุ่มประเทศยูโรโซน แม้แต่ละประเทศอาจมีธนาคารกลางของตัวเอง แต่โครงสร้างของระบบการเงินยุโรป จะมี ECB เป็นธนาคารกลางที่กำกับดูแลภาพรวมหรืออยู่ด้านบนสุด โดยการประชุม ECB มีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจในการลงทุน เพราะ ECB มีอำนาจในการขึ้นหรือลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนในการดำเนินงานของธุรกิจต่าง ๆ และแน่นอนว่า การประชุม ECB จะสร้างความผันผวนให้กับสกุลเงิน EUR เป็นอย่างมาก   
  • รายงานการแถลงการณ์ของคณะกรรมการนโยบายการเงินแห่งธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เป็นเครื่องมือเบื้องต้นที่คณะกรรมการได้ใช้เพื่อสื่อสารกับนักลงทุนเกี่ยวกับนโยบายการเงิน โดยในแถลงการณ์นี้จะมีข้อมูลเกี่ยวกับผลของการลงคะแนนเสียงสำหรับการกำหนดอัตราดอกเบี้ย การอภิปรายถึงภาพรวมเศรษฐกิจและแสดงนัยถึงผลลัพธ์ของการลงคะแนนเสียงในอนาคต หากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจสูงกว่าที่คาดไว้ถือว่าเป็นลักษณะเชิงลบ   
  • ตัวเลข GDP (Gross Domestic Product) ข่าวอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยมีการพูดถึงผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ ซึ่งสำคัญต่อทิศทางการลงทุน โดยทั่วไปแล้วนักลงทุนย่อมต้องการเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ สามารถเติบโตได้ในระดับที่ดีต่อเนื่อง และนักลงทุนจะใช้ตัวเลข GDP เพื่อกำหนดกลยุทธ์การลงทุน และส่งผลต่อการเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่แตกต่างกัน    
  • การประกาศการจ้างงานนอกภาคการเกษตร NFP (Non-Farm Payrolls) จะประกาศทุกวันศุกร์แรกของแต่ละเดือน ผ่านทางการรวบรวมตัวเลขทางสถิติการจ้างงานในภาคการบริการ ก่อสร้าง อุตสาหกรรม ซึ่งข่าวนี้จะส่งผลต่อค่าเงิน USD และทุกค่าเงินที่มี USD พ่วงด้วย เช่น ค่าเงิน USDJYP  ค่าเงิน EURUSD   
  • ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค CPI (Consumer Price Index) เป็นตัวเลขทางสถิติที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการที่ครอบครัวหรือผู้บริโภคซื้อหามาบริโภคเป็นประจำ หรือจะเรียกว่าค่าครองชีพเพื่อให้เข้าใจง่าย โดยตัวเลขดัชนี CPI นี้จะส่งผลต่อการสวิงของราคาสินค้าและบริการ   
  • ตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ PMI (Purchasing Managers Index) เป็นดัชนีสะท้อนถึงภาวะการณ์การขยายตัวหรือหดตัว ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการของโลกในปัจจุบันและอนาคต โดยตัวเลขดัชนี PMI เริ่มตั้งแต่ 0 ถึง 100 หาก PMI ออกมามากกว่า 50.0 จุด แสดงว่ามีการขยายตัว แต่ถ้าออกมาที่ 50.0 จุด พอดี แสดงว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือหากออกมาต่ำกว่า 50.0 จุดสะท้อนการหดตัว   
  • อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) ตัวเลขที่แสดงอัตราร้อยละของผู้ว่างงานในระบบเศรษฐกิจเทียบกับกำลังแรงงานรวม ซึ่งสามารถบ่งบอกสภาพเศรษฐกิจโดยรวมว่าเป็นไปในทิศทางที่กำลังขยายตัวหรือหดตัว ซึ่งถ้าตัวเลขการว่างงานสูง แสดงว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจเติบโตไม่ได้เต็มที่ หรือแนวโน้มในอนาคตอาจจะยังไม่ดี เพราะไม่เช่นนั้นนายจ้างน่าจะต้องการแรงงานเข้ามาในตลาดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอัตราการว่างงานที่ต่ำไม่ได้เป็นเพียงปัจจัยเดียวที่จะบอกว่า เศรษฐกิจของทั้งประเทศกำลังขยายตัวไปในทิศทางที่น่าพอใจได้เสมอไป   

 

ทั้งนี้ ข่าวสารเหล่านี้อาจสร้างความเคลื่อนไหวให้กับตลาดได้บ้าง ซึ่งการเทรดกับข่าว ต้องตรวจสอบว่าข่าวใดจะส่งผลกระทบกับสกุลเงินที่จะเทรด และช่วงเวลาที่ข่าวออก จากนั้นเปรียบเทียบข่าวดังกล่าวกับสถิติที่ผ่านมา เพื่อประเมินว่าข่าวจะออกมาทิศทางไหน แต่ไม่ใช่ทุกข่าวที่ส่งผลกระทบกับตลาด ผู้ลงทุนควรแยกแยะให้ได้ว่าข่าวไหนบ้างที่มีผลกระทบกับตลาด เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากข่าวมากที่สุด   

Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 18/05/2023

นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดส่งสัญญาณว่า เฟดอาจจะหยุดพักการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก ขณะที่เฟดจะประเมินกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยที่ผ่านมา รวมทั้งผลกระทบต่อการให้สินเชื่อและสินเชื่อจากภาวะวิกฤตินภาคธนาคารที่เพิ่งเกิดขึ้น

อ่านเพิ่มเติม