logo

อะไรทำให้ราคาทองขึ้นหรือลง?

1.อุปสงค์(Demand) เเละอุปทาน(Supply) ของทองคำในตลาดโลก
สำหรับนักลงทุนหรือนักเก็งกำไรทองคำ อาจจะมีทองคำไว้ประกันเงินเฟ้อ หรือเก็งกำไรเเล้ว ทองคำ ยังถูกใช้ประโยชน์ในหลายด้าน เช่น ทำเครื่องประดับ ทองแท่ง  ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือใช้เป็นทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของธนาคารกลางหลายแห่งอีกด้วย
หากช่วงเวลานั้นมีความต้องการซื้อมากกว่าขาย หรือ Demand มากกว่า Supply ก็อาจส่งผลให้ราคาทองคำสูงขึ้นได้

กองทุน SPDR  หรือ SPDR Gold Trustนอกจากดู Demand&Supply จากภาพรวมการนำทองคำไปใช้เเล้ว  อีกตัวชี้วัดหนึ่งที่นักเก็งกำไรทองคำรายย่อยให้ความสนใจคือ ความต้องการทองคำที่เกิดจาก กองทุน SPDR  หรือ SPDR Gold Trust เป็นกองทุนที่ลงทุนในทองคำแท่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก  นักเก็งกำไร จะมักจะดูระดับการถือครองทองคำที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงของ SPDR Gold Trust  เพราะเป็นตัวสะท้อนมุมมองต่อทองคำของนักลงทุนจากทั่วโลก และ SPDR  ยังเป็นกองทุนที่ถือทองคำมากที่สุดในโลกอีกด้วย

2.ค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐปกติค่าเงินดอลลาร์

จะมีความสัมพันธ์ในเชิงลบกับราคาทองคำโลก เมื่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนลงเทียบกับเงินสกุลสำคัญของโลก เช่น เงินยูโร เงินเยน เงินปอนด์ หรือพิจารณาจาก US Dollar Index ก็ได้เช่นกัน เราสามารถดูดัชนี Dollar Index ได้ที่ www.tradingview.com โดยพิมพ์ สัญลักษณ์ย่อ DXY
ปกติราคาทองคำโลกจะสูงขึ้น เพราะราคาทองคำซื้อขายเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อค่าเงินดอลลาร์อ่อนลง ทองคำจะมีราคาถูกลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นที่นักลงทุนถือไว้ จึงสร้างแรงซื้อเข้ามาดันให้ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้


3.อัตราดอกเบี้ยนโยบาย

หากปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอาจจะแสดงว่าเศรษฐกิจเริ่มดี ความเชื่อมั่นเริ่มมากขึ้น ค่าเงินดอลลาร์จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ผลตอบเเทนพันธบัตรรัฐบาลสูงขึ้น นักลงทุนก็มักจะนำเงินมาลงทุนในสินทรัพย์ผลตอบเเทนที่มากกว่า ส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวลดลง นอกจากนี้ การปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้น อาจเกิดจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นมาก ดังนั้นทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันเงินเฟ้อ หากเงินเฟ้อรุนแรง ต่อให้ขึ้นดอกเบี้ย ราคาทองก็ยังขึ้นได้ ตราบใดที่เงินเฟ้อยังอยู่ในจุดที่สูงมาก หรือสูงมากกว่าอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น


4.เงินเฟ้อ

ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ค่าครองชีพ เเละราคาสินค้าสูงขึ้น สาเหตุอาจจะมาจากปริมาณเงินหรือสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจมีมากเกินไป ทำให้มูลค่าเงินสดมีเเนวโน้มอ่อนค่า หรือลดค่าลง นอกจากนี้ตัวเลขเงินเฟ้อ สามารถดูได้จาก ตัวเลข CPI ดัชนีราคาผู้บริโภค , PPI ดัชนีราคาผู้ผลิต หากมีเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้น ก็สะท้อนได้ว่ามีภาวะเงินเฟ้อที่มากขึ้น การซื้อหรือถือทองคำจึงเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่ป้องกันเงินเฟ้อได้ ดังนั้นหากปัจจัยอื่นๆคงที่ ราคาทองคำจึงอาจปรับขึ้นถ้ามีความต้องการซื้อที่สูง


5.ปัญหาการเมือง สงคราม วิกฤตการเงิน เเละโรคระบาด

ปัญหาต่างๆเหล่านี้ หากเกิดขึ้นจะค่อนข้างส่งผลลบต่อสินทรัพย์ที่เสี่ยงเช่น ตลาดหุ้น หรือ พันธบัตรต่างๆ เมื่อเกิดวิกฤตใดๆออกมา นักลงทุนมักพักเงิน หรือย้ายเงินมาถือครองทองคำเพื่อป้องกันความเสี่ยงหรือความไม่เเน่นอนกันมากขึ้น เพราะนอกจากทองจะเป็น  Store of value เเล้ว ยังเป็น Safe Haven หรือ สินทรัพย์ปลอดภัยด้วย หากปัจจัยอื่นๆคงที่ เเนวโน้มราคาทองคำจะปรับตัวสูงขึ้น


ปัจจัยที่กระทบราคาทองนอกจาก 5 ข้อสำคัญๆเหล่านี้เเล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องอีกมาก เเละหลายครั้งเกิดขึ้นพร้อมกัน ทั้งด้านดี หรือร้ายต่อทอง ตัวราคาจึงเป็นผลลัพธ์ที่สะท้อนภาพรวมของตลาดได้อย่างดีที่สุด เเต่อย่างไรก็ตามพื้นฐานราคาทองเหล่านี้ ก็จะทำให้เราได้วิเคราะห์ภาพรวม สัญญาณเตือนต่างๆ ในระยะยาวว่า เเนวโน้มราคาทองจะไปในทิศทางใด เร็วช้าเเค่ไหน

Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

มหาเศรษฐี Steve Cohen เตือนนักลงทุน อย่ามัวแต่กังวลภาวะถดถอยจนพลาดที่จะลงทุนใน AI

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาSteve Cohen ผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ Point72 Asset Management กล่าวในการประชุม SALT ว่า การมุ่งสนใจภาวะเศรษฐกิจถดถอยมากเกินไป อาจทำให้นักลงทุนพลาดโอกาสในการลงทุนกับ AI ที่กำลังเป็นกระแสหลัก

อ่านเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 18/01/2024

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ในวันพุธ โดยตลาดถูกกดดันจากความกังวลที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานาน หลังสหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งเกินคาด

อ่านเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 14/05/2024

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ เนื่องจากนักลงทุนขายทำกำไรหลังจากราคาทองคำพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐ และถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้ เพื่อประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของเฟด

อ่านเพิ่มเติม