logo

การคำนวณ WMA ใน EXCEL สำหรับ เทรดเดอร์ สาย Indicator

การคำนวณ Indicator Weighted Moving Average (WMA) ผ่าน EXCEL มีความคล้ายคลึงกับ SMA แต่ต่างกันตรงที่การให้น้ำหนักความสำคัญของข้อมูลในแต่ละจุด โดย WMA ให้น้ำหนักกับข้อมูลที่ใกล้ปัจจุบันมากที่สุด และค่อยลดลงไปเรื่อย ๆ ซึ่งส่งผลทำให้ความสำคัญของข้อมูลมีความสำคัญที่ไม่เท่ากัน ซึ่งต่างกับ SMA ที่จะให้น้ำหนักของข้อมูลทุกจุดเท่ากัน สามารถอ่านได้บทความการคำนวณ SMA ได้จาก ค่า Period กับ Indicator SMA ผ่าน excel


WMA เป็นอีกหนึ่ง indicator ทางเทคนิคที่ เทรดเดอร์ หลายคนนิยมใช้เพื่อการพยากรณ์ราคาเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อและขาย โดยก่อนที่จะคำนวณ เราจะต้องทำการกำหนด “น้ำหนัก(weight)” ของข้อมูลแต่ละตัวก่อนว่าจะให้น้ำหนักเท่าใด

การคำนวณ WMA แบบคิดในกระดาษ

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนัก จะให้น้ำหนักกับข้อมูลล่าสุดมากกว่าข้อมูลที่ห่างออกไปในอดีตโดยมีการกำหนดน้ำหนักให้มากกว่าข้อมูลในอดีตอื่น ๆ ในขณะที่ข้อมูลที่มีความล้าหลังจะถูกกำหนดให้มีน้ำหนักน้อยลง เมื่อใช้ตัวเลขแต่ละตัวที่มีน้ำหนักต่างกัน ผลรวมของน้ำหนักของทุกข้อมูลควรเท่ากับ 1 หรือ 100%

โดยที่ค่า WMA สามารถคำนวณได้จากสูตร

WMA = (Sum of Weighted Averages) / (Sum of Weighted)

ขั้นตอนการคำนวณ

ระบุข้อมูลที่ต้องการหาค่าเฉลี่ย

ตัวอย่าง พิจารณาราคาหุ้นตัวหนึ่ง ในช่วง 4 วัน พบว่ามีราคาปิดที่ 1, 2 , 3 และ 4 ตามลำดับ

จะพบว่าชุดข้อมูลที่เราสนใจหาค่า WMA(4) คือ 1, 2 , 3 และ 4 ตามลำดับ

กำหนดน้ำหนักของแต่ละข้อมูล

ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ล่าสุดมากกว่าข้อมูลในอดีต โดยในที่นี้จะกำหนดน้ำหนักข้อมูลล่าสุดเป็น 0.4, ข้อมูลในอดีตถัดจากข้อมูลล่าสุดเป็น 0.3, ข้อมูลถัดไปเป็น 0.2, และ ข้อมูลสุดท้ายเป็น 0.1ตามลำดับ

หมายเหตุ: เราสามารถกำหนดน้ำหนักของข้อมูลได้เองตามสมมติฐานของข้อมูล

วันที่ (Day)น้ำหนัก (w)ข้อมูล (x)
10.11
20.22
30.33
40.44
ตัวอย่าง การกำหนดน้ำหนักข้อมูลเพื่อคำนวณ WMA

หาค่า Sum of Weight Averages

หลังจากกำหนดน้ำหนักของข้อมูลในแต่ละจุดแล้ว ขั้นตอนถัดไป คือ การ นำข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 4 มาคูณด้วยน้ำหนักของข้อมูลนั้น เพื่อให้ได้ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของแต่ละข้อมูล แล้วจึงนำผลลัพธ์ไปรวมกันเพื่อหาค่า Sum of Weight Averages โดยได้ผลลัพธ์ดังตาราง

วันที่ (Day)น้ำหนัก (w)ข้อมูล (x)ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก
10.11= 0.1 x 1 = 0.1
20.22= 0.2 x 2 = 0.4
30.33= 0.3 x 3 = 0.9
40.44= 0.4 x 4 = 1.6
ตัวอย่าง การคำนวณ Sum of Weight Averages

ดังนั้น ค่า Sum of Weight Average = 0.1 + 0.4 +0.9 + 1.6 = 3
หมายเหตุ: Sum of Weight Average = w1x+ w2x2 + w3x3 +…wnxn

โดยที่ wn คือน้ำหนักของข้อมูลที่สนใจ
Xคือ ข้อมูลที่สนใจ

หาค่า Sum of Weight

เป็นการหาผลรวมของน้ำหนักของข้อมูลที่เราสนใจ จากข้อมูลข้างต้นจะได้ว่า
Sum of Weight = 0.1 + 0.2 + 0.3 + 0.4 = 1

คำนวณ ค่า WMA

จากขั้นตอนที่ 3 เราทราบว่า Sum of Weight Average = 3

จากขั้นตอนที่ 4 เราทราบว่า Sum of Weight = 1

ดังนั้น WMA = (Sum of Weighted Averages) / (Sum of Weighted) = 3/1 = 3

เมื่อผ่านขั้นตอนทั้ง 5 เทรดเดอร์ จะได้ค่า WMA เพื่อนำไปใช้งานต่อไป


การคำนวณ WMA ผ่าน EXCEL

จะเห็นได้ว่า ถ้าคำนวณโดยผูกสูตรคำนวณตรง ๆ กับ EXCEL นั้นจะค่อนข้างยุ่งยาก โดยเฉพาะเมื่อต้องทำการเปลี่ยนค่า Period หรือ ช่วงของชุดข้อมูล และ ค่าน้ำหนักของข้อมูลแต่ละตัว

โปรแกรม EXCEL มีฟังก์ชันที่ช่วยให้เราคำนวณค่า WMA ได้ง่ายขึ้น โดยสามารถคำนวณ Sum of Weighted Averages และ Sum of Weighted ได้โดยใช้ฟังก์ชันเพียง 2 ตัวเท่านั้น ผมจะแบ่งปันเทคนิคที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ดังรูปที่สามารถคำนวณ WMA(4), WMA(5), WMA(6), …WMA(10)

ตัวอย่าง ผลลัพธ์การคำนวณ WMA ผ่าน EXCEL

ฟังก์ชัน SUMPRODUCT

เป็นการหาผลรวมของผลคูณของข้อมูลที่กำหนด ในที่นี้เราใช้คำนวณค่า Sum of Weighted Averages ซึ่งจะทำการใส่สูตรเป็น SUMPRODUCT($D$7:$D$10,E7:E10) โดยทำการล็อคค่าคงที่ไว้ด้วยเครื่องหมาย $ D$ เพื่อไม่ให้ค่าน้ำหนักที่เรากำหนดเลื่อนเมื่อทำการลากสูตรใน EXCEL

เสร็จแล้วจึงทำการลากสูตรจาก F10 ลงมาจนถึง F16 เพื่อให้สามารถคำนวณค่า WMA ได้แบบอัตโนมัติ

ฟังก์ชัน SUM

ในส่วนของ ฟังก์ชัน SUM นั้นตรงไปตรงมา เป็นการหาผลรวมของน้ำหนักข้อมูลในช่วงที่เรากำหนด โดยทำการล็อคค่าน้ำหนักไว้เช่นกันด้วย $D$7

รวมสูตร EXCEL ในการหา WMA(4)

สูตรรวมในการหาค่า WMA(4) จึงเป็น

=SUMPRODUCT($D$7:$D$10,E7:E10)/SUM($D$7:$D$10)

โดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดการปรับค่า Weight และค่า Period เพิ่มเติมได้โดยเข้าไปดูคลิปวีดีโอด้านล่าง

สรุป

WMA มีความแตกต่างจาก SMA โดยที่มีการให้ความสำคัญของข้อมูลล่าสุดสูงสุด และลดความให้ความสำคัญลงเมื่อข้อมูลอยู่ในช่วงเวลาในอดีต ในการคำนวณเราสามารถกำหนดค่า Weight ได้ตามที่ต้องการ โดยจะต้องคำนวณหาตัวแปร 2 ตัวแปร เพื่อนำมาหาโดยใช้สูตร WMA = (Sum of Weighted Averages) / (Sum of Weighted)

การใช้ฟังก์ชัน SUMPRODUCT และ SUM ใน EXCEL จะช่วยการคำนวณทำได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อต้องมีการปรับค่า Weight และค่า Period ของ WMA

ดาวโหลดไฟล์ EXCEL ได้ตามลิงค์ด้านล่าง

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

  1. Trading View
  2. CFI
  3. Barry Cobb (youtube)
  4. Babypips

น้ำมัน บทความยอดนิยม ประวัติเทรดเดอร์ พื้นฐาน technical analysis เทรดเดอร์มือใหม่ ์Indicator

*บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกตีความว่า มีการให้คำปรึกษาด้านการลงทุน ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำเสนอสำหรับการทำธุรกรรมใดๆ ในเครื่องมือทางการเงินต่างๆ โปรดทราบว่าการวิเคราะห์การซื้อขายดังกล่าวไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันหรืออนาคต เนื่องจากสภาวการณ์อาจมีเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน

Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

นักวิเคราะห์กราฟ ชี้ราคา Bitcoin อาจเกิดการปรับฐานใหญ่หลังพุ่งแตะระดับ 30,000 ดอลลาร์

นักวิเคราะห์สายกราฟชื่อดัง DonAlt ได้กล่าวผ่านรายการ Weekly Open ว่า ตลาด Crypto ในขณะนี้มีลักษณะคล้ายคลึงตลาดเมื่อปี 2020 ที่ราคา Bitcoin ได้พุ่งทะยานขึ้นเป็นอย่างมาก

อ่านเพิ่มเติม